ขายตุง ตุงล้านนา ตุงประดับ ตุงธนบัตร ตุงจิ๋ว ตุงฉลุ ปลีก ส่ง
โดย กานต์ ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 31 ส.ค. 2554.
ตุงเป็นส่วนประกอบในงานต่างๆ เสมอ ในงานมงคลจะพบตุงนานาชนิดร่วมอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นงานทำบุญ ขึ้นปีใหม่ สงกรานต์ งานปอย ตุง ศิลปะพื้นบ้านล้านนา งานประดิษฐ์คิดค้นที่สะท้อนวัฒนธรรมของชาวล้านนาเป็นการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่สอดใส่จิตวิญญาณแห่งความเคารพรักและบูชาลงไปในผลงาน เพื่อมอบให้แก่บุคคลอันเป็นที่เคารพรัก ประเพณีทางภาคเหนือจะพบต้นตุงเป็นส่วนประกอบในงานต่างๆ เสมอ ในงานมงคลจะพบตุงนานาชนิดร่วมอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นงานทำบุญ ขึ้นปีใหม่ สงกรานต์ งานปอยเทศกาลต่าง ๆ ท่านที่สนใจสามารถสั่งซื้อหรือสั่งผลิตในรูปแบบตามที่ท่านต้องการได้ ทางร้านยังมีสินค้าอื่นๆอีกมากมายให้ท่านได้เลือกชมเพิ่มเติมได้ที่
http://www.nutcharut.com
ตุงเป็นภาษาถิ่นประจำภาคเหนือซึ่งตรงกับคำว่า ธง ในภาษาไทยภาคกลางและตรงกับคำว่า ธุง ในภาษาท้องถิ่นอีสาน มีลักษณะเป็นแผ่นวัตถุ ส่วนปลายแขวนติดกับเสาห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ธง ไว้ว่า “ ธง น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทำด้วยกระดาษหรือ สิ่งอื่น ๆ ก็มีสำหรับใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ เครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เครื่องหมายเดินทะเล อาณัติสัญญาณ ตกแต่ง สถานที่ในงานรื่นเริงหรือกระบวนแห่ …” การใช้ตุงทางภาคเหนือ ได้ปรากฏหลักฐานในตำนานพระธาตุดอยตุง ซึ่งกล่าวถึง การสร้าง พระธาตุไว้ว่า เมื่อพระมหากัสสปะเถระได้นำเอาพระบรมสารีลิกธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า มาถวายแด่พระยา อชุตราชกษัตริย์แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ พระองค์ได้ทรงขอที่ดินของพญาลาวจก (ราชวงศ์ลวจังคราช) ในหมู่เขาสามเส้าเป็นที่ก่อ สร้างพระมหาสถูปนั้น ทำให้ทำตุงตะขาบยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอยปู่เจ้า ถ้าหางตุงปลิวไปเพียงใดกำหนดให้เป็นรากฐานสถูป ตุงมีหลายชนิด หลายแบบ หลายลักษณะ หลากรูปทรง ต่างลวดลาย และมากชนิดของวัสดุในการทำ รวมทั้งโอกาสต่าง ๆ ในการใช้ตุง จึงพอที่จะจำแนกออกเป็นประเภทได้ดังนี้
1. แบ่งตามวัสดุในการทำ ตุงที่ทำจากกระดาษ ได้แก่ ตุงช้าง ตุงไส้หมู ตุงที่ทำจากผืนผ้า ได้แก่ ตุงตะขาบ ตุงจระเข้ ตุงแดง ตุงซาววา ตุงพระบฏ ตุงที่ทำด้วยกระดาษหรือผ้า ได้แก่ ตุงสามหาง ตุงที่ทอจากเส้นด้ายหรือเส้นไหม ได้แก่ ตุงไชย ตุงที่ทำจากไม้หรือสังกะสี ได้แก่ ตุงกระด้าง
2. ตุงที่ใช้ในงานประดับประดาหรือร่วมขบวน ตุงซาววามีความหมายมงคลใช้งานเหมือนตุงไชยแต่มีลักษณะยาวกว่า ไม่มีเสาที่ปัก ต้องใช้คนถือหลายคนนิยมให้ผู้ร่วม ขบวนเดินถือชายตุงต่อ ๆ กัน ตุงกระด้างมักนิยมทำด้วยไม้แกะสลักและประดับกระจก ลงรักปิดทองด้วยลวดลายดอกไม้ต่าง ๆ ลายสัตว์ต่าง ๆ แบบถาวร และมักจะทำไว้ในที่ที่มีความสำคัญในพื้นที่ต่าง ๆ
3. ตุงที่ใช้ในงานพิธีมงคล ตุงไชยเป็นเครื่องหมายบอกถึงความเป็นสิริมงคล ทำได้โดยการทอจากด้ายหรือสลับสีเป็นรูปเรือ รูปปราสาทหรือลวดลาย มงคล ใช้เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเป็นเครื่องหมายบอกให้รู้ว่า ในบริเวณนั้นจะมีงานฉลองสมโภชโดยจะปักตุงไว้ห่างกัน ประมาณ 8-10 เมตร เป็นแนวสองข้างถนนสู่บริเวณงาน และยังนิยมใช้ในการเดินขบวนเมื่อมีงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ตุงช้างส่วนใหญ่ทำด้วยกระดาษมีลักษณะการนำไปใช้งานเช่นเดียวกับตุงไชย ตุงพระบฏจะเขียนภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติ จะประดับตุงไว้ด้านหลังของพระประธานในโบสถ์ โดยการแขวนไว้กับผนังด้าน หลังพระประธานทั้งสองข้าง ตุงตะขาบตุงจระเข้ จะมีรูปตะขาบและจระเข้อยู่ตรงกลาง ปักไว้เป็นการแสดงว่าวัดนี้จะมีการทอดกฐิน หรือแห่นำขบวนไป ยังวัดที่จองกฐินไว้ ตุงไส้หมูเป็นพวงประดิษฐ์รูปร่างคล้ายจอมแหหรือปรางค์ ใช้ประดับตกแต่งงานพิธีบุญต่าง ๆ เพื่อความสวยงาม
ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)
หน้า แสดง - จากทั้งหมด 1524 ประกาศ
|
|
|
450 บาท |
|
|
|
9,900 บาท |
|
|
|
550 บาท |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |
|
|
|
12 บาท |
|
|
|
ติดต่อ |
|
|
|
1,900 |
|
|
|
1,420 บาท |
|
|
|
30 บาท |
|
|
|
20,000 บาท |
|
|
|
6,200 |
|
|
|
390 บาท |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |
|
|
|
15 บาท |
|
|
|
179 บาท |
|
|
|
โทรสอบถาม |
|
|
|
250 บาท |
|
|
|
6 บาท |
|
|
|
สอบถาม |